> ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
- การเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ (LEARNING BY DOING)
- นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ
วิสัยทัศน์
โรงเรียนที่เป็นตัวเลือกอันดับต้นของผู้ปกครองในพื้นที่ที่มีผลงานเชิงประจักษ์ ด้านการพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับศตวรรษที่ 21 มีความสำนึกในความเป็นพลเมืองดีและพร้อมเข้าสู่สากล
ปรัชญา-พันธกิจ
- พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมให้ชัดเจนสื่อสารระบบการบริหารจัดการให้เข้าใจตรงกันให้เกิดผลงานเชิงประจักษ์ด้านการพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้นำมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับศตวรรษที่ 21 มีความสำนึกในความเป็นพลเมืองดีและพร้อมเข้าสู่ประเทศไทย 4.0
- พัฒนาครูและบุคลากรอย่างเป็นระบบให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้มาตรฐานหลักสูตรโดยเน้นแนวคิดแบบ Active Learning และการสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 การปลูกคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
> ค่านิยม/สมรรถนะหลัก/วัฒนธรรมองค์กร
ค่านิยม : ISVALAYA
I : Innovation นวัตกรรม S : Success ความสำเร็จ
V : Visionary เป็นผู้รอบรู้ และมีวิสัยทัศน์ A : Activeness ทำงานเชิงรุก ริเริ่มสร้างสรรค์
L : Like to learn สนใจใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง A : Adaptive ปรับตัวได้ดี พร้อมนำการเปลี่ยนแปลง
Y : Yields สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ A : Acceptance and Friendliness
เป็นที่ยอมรับในการเป็นกัลยาณมิตร
สมรรถนะหลัก
บริหารงานอย่างมีคุณภาพเน้นการจัดการเรียนการสอน Active leaning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps สู่การพัฒนานวัตกรรม พร้อมให้บริการวิชาการและวิจัยแก่หน่วยงานอื่น
วัฒนธรรมองค์กร : ทำงานเชิงรุก สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ พร้อมนำการเปลี่ยนแปลง
อัตลักษณ์
เชี่ยวชาญวิทย์ – คณิต
ภาษาอังกฤษเก่งกล้า
กิริยางามสง่า
จิตอาสาเพื่อส่วนรวม
เอกลักษณ์
เป็นสถาบันที่บ่มเพาะความสำเร็จโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ปณิธาน
สืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาผู้เรียนและการเป็นโรงเรียนต้นแบบในท้องถิ่น
> เป้าประสงค์
- นักเรียนมีจิตสำนึกและแสดงออกในการทำความดี ละเว้นความชั่ว มีนิสัยใฝ่เรียนรู้มีความรับผิดชอบ เป็นพลเมืองดี มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
- นักเรียนมีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
- นักเรียนมีทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถด้านการอ่าน เขียน คิดคำนวณ ด้านการสื่อสารสู่สากล ด้านการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการทำงานเป็นทีมเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน
- นักเรียนความตระหนักในคุณค่าแห่งตนการมีเป้าหมายชีวิตและการเห็นคุณค่าในอาชีพ
> กรอบนโยบายสภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สภามหาวิทยาลัยรวมทั้งผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วงปี พ.ศ.2562-2564 โดยมุ่งมั่นน้อมนำยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราโชบายสู่การปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์ของสาธารณชน ไว้ดังนี้ ด้านการพัฒนาท้องถิ่น
นโยบายข้อที่ 1 เร่งสร้างผลงานการพัฒนาท้องถิ่นในเชิงประจักษ์ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตามจุดเน้นของยุทธศาสตร์ประเทศไทย โดยบูรณาการงานพันธกิจสัมพันธ์ (University Engagement) ทั้งในส่วนของการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นำรูปแบบการเรียนรู้เชิงผลิตภาพมาพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถ เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชุม ท้องถิ่นและสังคม ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่บูรณาการศาสตร์แบบสหสาขา และตอบสนองความต้องการทั้งระดับประเทศชาติและท้องถิ่น เพื่อสนับสนุการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เร่งพัฒนาฐานข้อมูลท้องถิ่น และเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติทั้งภายในและภายนอกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการแก้ไขปัญหาชุมชน ท้องถิ่นร่วมกัน และมุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ ปัญญาเชิงการปฏิบัติจากการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ
ด้านการผลิต และพัฒนาครู
นโยบายข้อที่ 2 ผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพ ร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ผ่านการพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาครูมืออาชีพ โดยเร่งพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นรูปแบบเฉพาะของมหาวิทยาลัยแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ (Learning Spaces) พัฒนาอาจารย์ให้เป็นครูของครูมืออาชีพ เร่งปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการผลิตครู และพัฒนาครูประจำการให้เป็นครูมืออาชีพที่มีสมรรถนะด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 เสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน พัฒนานวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ปผ่านกระบวนการผลิตครูในระบบปิด ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่มุ่งการแก้ไขปัญหาร่วมกันในโรงเรียน (Semi Residential Learning) สนับสนุนให้อาจารย์และนักศึกษา ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนร่วมกับสถานศึกษาและจัดให้มีการถ่ายทอดนวัตกรรมด้านเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนเครือข่าย เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของคณาจารย์/คณะต่างๆ ในการพัฒนาครูในสถานศึกษา ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาเครือข่ายในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ พัฒนาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ยกระดับคุณภาพ ผลการเรียนรู้ร่วมกับคณะครุศาสตร์ และโรงเรียนเครือข่าย
ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาบัณฑิต
นโยบายข้อที่ 3 ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งระดับชาติและนานาชาติ ให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งในและนอกประเทศ โดยสรรหา สนับสนุนให้คณาจารย์มีคุณวุฒิ ผลงานและตำแหน่งทางวิชาการตามเกณฑ์ ส่งเสริมให้คณาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า ผลิตผลงานที่โดดเด่น ได้รับรางวัลและการยกย่องในระดับชาติและนานาชาติ พัฒนาและผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีอัตลักษณ์ เด่นชัดเป็นที่ยอมรับในด้านการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น และพร้อมทำงานในบริบทของประชาคมอาเซียน พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแบบสหวิทยาการที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามปรัชญาการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive Learning Philosophy) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงผลิตภาพ การคิดด้านคุณธรรม และความรับผิดชอบ และมีผลงานเชิงประจักษ์นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมหรือสร้างการเปลี่ยนแปลง และยกย่อง ส่งเสริมให้นักศึกษาที่มีความสามารถสูงพิเศษ (Talent) สร้างและนำเสนอผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย
ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
นโยบายข้อที่ 4 พัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวที่มีธรรมาภิบาลและเป็นองค์กรแห่งความสุข พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่มีพลวัตรในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) โดยเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบนานาชาติ พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นองค์การที่มีความเป็นเลิศด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพบรรยากาศทางวิชาการ พัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นตัวอย่างของชุมชนในการจัดการระบบนิเวศ พัฒนาองค์กรแห่งความสุขที่อาจารย์ บุคลากร มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถดึงดูดคนดีคนเก่งเข้ามาร่วมงานได้ ส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการน้อมนำแนวพระราชดำริ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิต การบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิผล และเตรียมการเพื่อรองรับการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับตามหลักธรรมาภิบาล
> ประเด็นยุทธศาสตร์
- การผลิตบัณฑิตโดยกระบวนการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive Learning) สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามรูปแบบประชารัฐ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น
- การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- การส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รณรงค์สร้างจิตสำนึกทางวัฒนธรรมการเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม อนุรักษ์ฟื้นฟูและเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม พัฒนาระบบการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรม
- การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศมีธรรมาภิบาล